พลาสติกวิศวกรรม
พลาสติกวิศวกรรม
พลาสติกวิศวกรรม เป็นหนึ่งในหมวดพลาสติก 3 หมวดใหญ่ๆตามการใช้งาน อันได้แก่ พลาสติกวิศวกรรม พลาสติกใช้งานทั่วไป และสเปเซียลตี้พลาสติก พลาสติกใช้งานทั่วไป ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นจำพวกโพลิโพรพิลีน โพลิเอทิลีน โพลิสไตรีน โพลิไวนิลคลอไรด์ โพลิเมทิล เมทาคริเลต อะคริลิก เอบีเอส เอสเอเอ็น หรือแซน เป็นต้น สำหรับพลาสติกวิศวกรรมที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย ได้แก่ โพลิออกซิเมทิลีน หรือพีโอเอ็ม โพลิคาร์บอเนต โมดิฟายด์ โพลิโพรพิลีนออกไซด์ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต โพลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต เป็นต้น ลักษณะเด่นของพลาสติกวิศวกรรมที่แตกต่างจากพลาสติกใช้งานทั่วไปคือ พลาสติกวิศวกรรมจะมีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่า มีน้ำหนังเบา สามารถปรับแต่งได้เหมือนโลหะ ส่วนสเปเชียลตี้พลาสติก เป็นพลาสติกชนิดพิเศษที่นอกเหนือจาก 2 กลุ่มแรก เช่น เทฟลอน เป้นต้น
และเราสามารถแบ่งพลาสติกออกเป็น 2 หมวด ตามลักษณะคุณสมบัติ คือ เทอร์โมพลาสติก กับเทอร์โมเซต เทอร์โมพลาสติกเป็นกลุ่มที่บ้านเราให้ความนิยมมากกว่า เนื่องจากเทอร์โมพลาสติกสามารถนำกลับมาขึ้นรูปใหม่ได้ และเสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่งน้อยกว่า มีความเหนียวดี สามารถทำให้มีความบางได้ตามต้องการ น้ำหนักเบา มีรอบในการผลิตน้อย จึงผลิตได้เร็ว ทำให้ได้ผลผลิตสูงสามารถให้สีได้หลากหลาย ส่วนเทอร์โมเซต มีคุณสมบัติที่ไม่สามารถนำกลับมาขึ้นรูปไหม่ได้ ไม่ค่อยหดตัว มีความแข็งตึง ต้านทานการยืดคราก ความชื้น และสารเคมีได้ดีเยียม สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการให้สี ความใส และการหล่อเข้าแบบ
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย)
ตารางคุณสมบัติพลาสติกวิศวกรรม | ||
พลาสติก | อุณหภูมิการใช้งาน ( C ) | ความแข็ง |
Teflon | -160/+280 | 55-65 (Shore D) |
POM | 112 | 83 (Shore D) |
PE300 | 90 | 64 (Shore D) |
PE1000 | 137 | 62-66 (Shore D) |
PP | 82 | 68-72 (Shore D) |
PVC | 83 | 115 (R Scale) |
Nylon6 | -40/+90 | 82 (Shore D) |
Cast Nylon | -40/+100 | 84 (Shore D) |
MC Nylon | -40/+115 | 84 (Shore D) |
Bakelite | 120 | 110 (M Scale) |
Silicone | 250 | 70+-5 (HSD) |
หมายเหตุ: ค่าความแข็ง และอุณหภูมิการใช้งาน เป็นเพียงค่าที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้น | ||
การใช้งานจริงอาจต้องตรวจสอบองค์ประกอบและปัจจัยอื่นๆในการใช้งานด้วย |